BlogPensook Digital SolutionWebsite Knowledgeการตั้งชื่อโดเมน และการจดโดเมน

การตั้งชื่อโดเมน และการจดโดเมน

Domain คือ

โดเมน (Domain) คืออะไร

โดเมน คือ ชื่อของเว็บไซต์ ชื่อโดเมน ก็เปรียบเหมือนชื่อบริษัท หรือชื่อร้านค้าของเรา จะซ้ำกับคนอื่นไม่ได้โดเมน จะมีองค์ประกอบอยู่ 2 ส่วน คือ ชื่อโดเมน กับนามสกุล

หลักการจดชื่อโดเมน

การเลือกและจดชื่อโดเมนเป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับการสร้างเว็บไซต์ เพราะโดเมนคือสิ่งแรกที่ลูกค้าจะจำได้เมื่อเข้ามาเยี่ยมชมเว็บของเรา ดังนั้น ควรเลือกโดเมนที่เหมาะสมและมีความหมายต่อธุรกิจของคุณ โดยมีหลักการดังนี้

  1. เลือกบริษัทที่น่าเชื่อถือ
    จดโดเมนกับบริษัทผู้ให้บริการที่มีชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือ เพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับบริการที่ดีและความปลอดภัยของโดเมนในระยะยาว
  2. ตั้งชื่อโดเมนให้สั้นและจำง่าย
    ชื่อที่สั้นและกระชับทำให้คนจดจำได้ง่ายและสะดวกต่อการพิมพ์
  3. ตั้งชื่อให้ออกเสียงและบอกต่อง่าย
    ชื่อโดเมนควรออกเสียงง่าย ไม่ซับซ้อน เพื่อให้คนสามารถบอกต่อได้สะดวก
  4. หลีกเลี่ยงการซ้ำกับเว็บหรือแบรนด์ที่มีชื่อเสียง
    ไม่ควรเลือกชื่อโดเมนที่ซ้ำหรือคล้ายกับเว็บไซต์หรือแบรนด์ที่มีชื่อเสียง เพราะอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านลิขสิทธิ์และความสับสน
  5. ไม่ควรตั้งชื่อเป็นคำคีย์เวิร์ดตรงๆ
    การใช้คำคีย์เวิร์ด (เช่น shoes.com) อาจไม่เหมาะในระยะยาว เพราะจะไม่ช่วยสร้างความแตกต่างหรืออัตลักษณ์ของแบรนด์
  6. ใช้ภาษาอังกฤษ
    ชื่อโดเมนที่เป็นภาษาอังกฤษจะใช้งานได้กว้างขวางและเข้าถึงผู้ใช้ทั่วโลกง่ายขึ้น
  7. สื่อถึงธุรกิจของคุณ
    หากเป็นไปได้ ควรตั้งชื่อที่สามารถสื่อถึงสิ่งที่คุณทำหรือเกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ
  8. หลีกเลี่ยงชื่อที่สะกดยาก
    ไม่ควรใช้ชื่อโดเมนที่สะกดหรือพิมพ์ยาก เพราะจะทำให้ผู้ใช้งานจำและเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณยากขึ้น
  9. หลีกเลี่ยงเครื่องหมายขีด (-)
    การใช้เครื่องหมายขีดกลาง เช่น my-domain.com อาจทำให้คนสับสนหรือพิมพ์ผิดได้
  10. เลือกใช้นามสกุล .com
    นามสกุล .com เป็นที่รู้จักและคุ้นเคยที่สุด หากชื่อที่คุณต้องการถูกจดไปแล้ว สามารถเลือกนามสกุลอื่นที่ไม่แปลกตามากเกินไปได้

คำนึงถึงการทำ Brand SEO
การตั้งชื่อโดเมนควรคำนึงถึงความง่ายในการทำ SEO ในอนาคต เพื่อให้เว็บไซต์ของคุณมีโอกาสแสดงผลสูงขึ้นบนเครื่องมือค้นหา

จดโดเมนที่ไหนดี

Domain คืออะไร

  1. ตรวจสอบสัญญาหรือระยะเวลา
    การจดโดเมนสามารถเลือกได้ว่าจะจดเป็นระยะเวลาเท่าใด ตั้งแต่ 1 ปีไปจนถึง 10 ปี ก่อนจดโดเมนควรอ่านสัญญาหรือข้อตกลงของผู้ให้บริการอย่างละเอียด โดยเฉพาะในส่วนของข้อจำกัดและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการโอนย้ายไปยังผู้ให้บริการรายอื่น หรือค่าใช้จ่ายในการต่ออายุโดเมน เพื่อให้คุณเตรียมพร้อมสำหรับการดำเนินการเมื่อโดเมนหมดอายุ
  2. การโอนย้ายโดเมน
    การโอนย้ายโดเมนเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความไม่พอใจในผู้ให้บริการรายเดิม หรือพบผู้ให้บริการที่ให้ราคาดีกว่า ปกติแล้วจะไม่สามารถโอนย้ายโดเมนได้ในช่วง 60 วันแรกหลังจากจดทะเบียน แต่บางกรณีอาจมีระยะเวลานานกว่านี้ ดังนั้นควรตรวจสอบข้อตกลงในการโอนย้ายให้ชัดเจน รวมถึงตรวจดูว่ามีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมหรือไม่
  3. บริการสนับสนุนลูกค้า
    การสนับสนุนลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญมากเมื่อเกิดปัญหาหรือต้องการคำปรึกษา ควรเลือกผู้ให้บริการที่มีบริการลูกค้าที่ตอบสนองรวดเร็วและมีประวัติการบริการที่ดี เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น
  4. ราคาในการจดโดเมน
    ราคาการจดโดเมนจะขึ้นอยู่กับส่วนขยาย (.com, .net, .co.th เป็นต้น) โดเมนระดับบนสุดที่เป็นหมวดรหัสประเทศ เช่น .co.th มักมีราคาสูงและอาจมีขั้นตอนที่ซับซ้อน นอกจากนี้ควรตรวจสอบว่าไม่มีค่าบริการเพิ่มเติมแอบแฝง และพิจารณาโปรโมชั่นหรือส่วนลดที่ช่วยลดค่าใช้จ่าย
  5. การอ่านข้อตกลงในการให้บริการ
    ควรอ่านข้อตกลงต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียมปีแรก, ค่าต่ออายุ, การโอนโดเมน, การจัดการ DNS, การล็อกโดเมน, การป้องกันการโจรกรรม ซึ่งผู้ให้บริการบางรายอาจมีบริการเหล่านี้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  6. ความเป็นเจ้าของโดเมน
    โดเมนที่จดควรเป็นชื่อของลูกค้า 100% หากผู้ให้บริการจดโดเมนในชื่อของตนเอง ลูกค้าจะไม่สามารถแก้ไขข้อมูลต่างๆ ได้เอง และจะมีปัญหาในการโอนย้ายโดเมน ควรตรวจสอบจากเว็บไซต์ www.whois.com เพื่อดูว่าใครเป็นเจ้าของโดเมน
  7. ความรวดเร็วในการจดโดเมน
    ควรเลือกผู้ให้บริการที่สามารถจดโดเมนได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากแจ้งโอนเงิน เพื่อป้องกันการสูญเสียชื่อโดเมนที่ต้องการจด
  8. ระบบจัดการโดเมนได้เอง (Domain Control Panel)
    ควรเลือกผู้ให้บริการที่มีระบบให้คุณจัดการโดเมนเองได้ เช่น การเปลี่ยน name server, การสร้าง child name server, การตรวจสอบ Authen Code ซึ่งเป็นรหัสสำหรับการย้ายโดเมน หากผู้ให้บริการมีระบบเหล่านี้ก็จะทำให้การจัดการโดเมนสะดวกขึ้น
    1. Child Name server ระบบ สร้าง child name server เพื่อเป็นตัวชี้ ไปยัง Name server ของท่าน เช่น ns1.thaihostclub.com ns2.thaihostclub.com โดย ns1 กับ ns2 เป็น child name server
    2. Name server ระบบการจัดการโดเมน ต้องอนุญาต ให้ท่าน สามารถเข้าไปเปลี่ยน name server เองได้ตลอดเวลา 
    3. Theft Protection เป็นระบบป้องกันด้วย วิธีการ Lock Domain ของท่าน เพื่อป้องกันการโจรกรรมโดเมนของท่านโดยการโอนไปยังผู้อื่น
    4. Free DNS Server เมื่อท่านจดโดเมนแล้ว หากท่านไม่มี DNS Server อาจต้องทำการเช่า Host เพื่อจะต้อง DNS Server ในการจัดการ DNS Record ต่าง ๆ ดังนี้ หากมี free DNS server แล้วจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้
    5. Free Forwarding DNS เมื่อท่านจดโดเมน เพื่อที่จะใช้ forward name record ต่าง ๆ หากมี feature นี้ในการช่วยแล้ว จะสามารถ forward child name record ได้ง่ายขึ้น
    6. การรักษาความปลอดภัย DNS Extensions (DNSSEC) ป้องกันปลอมแปลงแอบอ้าง DNS ของท่าน ด้วย วิธีการลงนามแบบดิจิทัลข้อมูลในการตรวจสอบมันจากแหล่งกำเนิด ( Digital Signatures )
  9. ระบบป้องกันการขโมยโดเมน (Theft Protection)
    ควรมีระบบป้องกันการโอนย้ายโดเมนโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น การล็อกโดเมน เพื่อป้องกันการขโมยหรือการถูกเปลี่ยนแปลงข้อมูลโดเมน
  10. ความเป็นส่วนตัว (Privacy Protect)
    ผู้ให้บริการควรมีฟังก์ชันปกปิดข้อมูลเจ้าของโดเมน เพื่อความปลอดภัยของลูกค้า ข้อมูลเจ้าของโดเมนจะถูกซ่อนจากการค้นหาเว้นแต่ลูกค้าต้องการเปิดเผยเพื่อการติดต่อ

Pensook สอนจดโดเมนง่ายๆ

Auth Code หรือ EPP Code คืออะไร
สำคัญยังไงในการย้าย Domain

เมื่อคุณต้องการย้ายโดเมนจากผู้ให้บริการโดเมน (Domain Registrar) รายเดิมไปยังผู้ให้บริการใหม่ คุณจำเป็นต้องใช้ Auth Code (หรือเรียกว่า EPP Code) เพื่อให้การย้ายโดเมนดำเนินไปอย่างปลอดภัยและมีระบบระเบียบ

Auth Code คือรหัสลับที่เชื่อมโยงกับโดเมนของคุณ โดยมีลักษณะเป็นชุดตัวอักษรและตัวเลข ความยาวของรหัสนี้อาจแตกต่างกันไปตามนโยบายของผู้ให้บริการแต่ละแห่ง การใช้ Auth Code ถือเป็นมาตรการรักษาความปลอดภัย เพื่อยืนยันว่าคุณคือเจ้าของที่แท้จริงของโดเมนดังกล่าว

      • กระบวนการขอ Auth Code
        เมื่อคุณต้องการย้ายโดเมนไปยังผู้ให้บริการอื่น คุณจะต้องร้องขอ Auth Code จากผู้ให้บริการปัจจุบัน ขั้นตอนการขอ Auth Code จะแตกต่างกันไปตามนโยบายของแต่ละผู้ให้บริการ บางแห่งคุณสามารถเข้าสู่ระบบการจัดการโดเมน ค้นหาส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งค่าและขอ Auth Code ผ่านระบบนั้นได้ทันที
      • การใช้ Auth Code ในการย้ายโดเมน
        เมื่อได้รับ Auth Code แล้ว คุณต้องส่ง Auth Code นี้ไปยังผู้ให้บริการใหม่ที่คุณต้องการย้ายโดเมนไป ระบบของผู้ให้บริการใหม่จะทำการตรวจสอบ Auth Code เพื่อยืนยันสิทธิ์ในการย้ายโดเมน หลังจากตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยและยืนยันความถูกต้องแล้ว กระบวนการย้ายโดเมนจะเริ่มต้นขึ้น
      • ข้อควรระวังเกี่ยวกับ Auth Code
        Auth Code ถือเป็นข้อมูลที่สำคัญและลับ คุณควรรักษารหัสนี้อย่างดีและไม่เปิดเผยให้บุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตทราบ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเข้าควบคุมโดเมนของคุณโดยไม่ได้รับอนุญาต
      • สรุป
        Auth Code เป็นรหัสลับที่ใช้ในการย้ายโดเมน โดยมีหน้าที่สำคัญในการรักษาความปลอดภัยและยืนยันตัวตนของเจ้าของโดเมน คุณควรเก็บรักษา Auth Code นี้เป็นความลับและใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการย้ายโดเมนอย่างระมัดระวัง

DNS คืออะไร

DNS ย่อมาจาก Domain Name Server หน้าที่ของ DNS คือจะทำการแปลงชื่อ Domain เป็น IP Address เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ ลองคิดตามว่าหากเว็บไซต์เรา แทนที่จะเป็น www.cloudhm.co.th เราต้องพิมพ์ IP Address แทน เช่น 192.168.1.6 ทำให้ชีวิตยากมั้ย? บอกเลยว่ามาก! แล้วคิดดูว่า Website จำนวนเท่าไหร่บนโลกนี้ อาจจะต้องมีสมุดจดกันเลยทีเดียว จุดนี้เลยเป็นสาเหตุให้เกิด DNS ขึ้นมา ทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้นเยอะมากก

      • DNS สำคัญอย่างไร
        DNS มีความสำคัญโดยตรงต่อระบบ ในโลกปัจจุบันสากลนี้ เราเข้าในงานเว็บด้วย DNS กันเสมอ หากอยู่ดี ๆ DNS เกิดล่มขึ้นมา คนก็จะไม่สามารถเข้า Website ของคุณได้ เพราะ DNS นี้จะไม่สามารทำหน้าที่แปลง www.cloudhm.co.th ให้เป็น IP Address ได้ แต่หากคุณสามารถจำ IP ได้ ก็ยังสามารถเข้าได้นะ แต่ลูกค้าของคุณหล่ะ? ใครจะไปสนใจจำได้ว่า IP คุณเลขอะไร? แล้วถ้ามี Domain name แล้วจะเชื่อมกับ Server ยังไง? โดยปกติแล้วหากคุณมี Web Server แล้ว ก็ต้องจด Domain name เป็นชื่อ Website ก่อน จากนั้นต้องชี้ Name Server ไปยัง DNS Server
      • DNSSEC คือ    
        DNSSEC ย่อมาจาก Domain Name System Security Extensions คือ การเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ระบบโดเมนเนมและข้อมูลต่างๆ ที่อยู่บนโลกอินเทอร์เน็ต เช่น Website ,Email โดยมีเป้าหมายเพื่อป้องกันผู้ใช้ (end user) จากการเข้าถึงปลายทางข้อมูลที่ถูกบิดเบือนผ่านระบบโดเมนเนม ซึ่งมีความเสี่ยงที่อาจถูกนักเทคนิคผู้ไม่ ประสงค์ดีแอบอ้างตัวตนเข้ามาหลอกเก็บข้อมูลที่สำคัญออกไป เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีธนาคาร, บัตรเครดิต หรือ Password ต่างๆ เป็นต้น DNSSEC จึงเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับ DNS Server ได้

หากท่านไม่อยากเสียเวลาเรียนรู้และค่าใช้จ่ายที่จุกจิกทางเราครอบคลุมทุกด้านที่รองรับธุรกิจของคุณให้ Digital Solutions Pensook ดูแลคุณ